เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 3.สัตตาวาสวรรค 3.ตัณหามูลกสูตร
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ 3 จำพวกไหนบ้าง คือ
1. บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้ ฯลฯ
2. บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้ ฯลฯ
3. บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์
ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
ฯลฯ
บุรุษอาชาไนยผู้เจริญสมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์
ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะ
อาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เรากล่าวว่า นี้เป็นเชาว์ของเขา
เขาถูกถามปัญหาในอภิธรรมและอภิวินัย ก็ตอบได้ ไม่จนปัญญา เรากล่าวว่า นี้เป็น
วรรณะของเขา และเขาได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร
เรากล่าวว่า นี้เป็นความสูงและความใหญ่ของเขา
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญสมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ
และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ 3 จำพวกนี้แล
อัสสขฬุงกสูตรที่ 2 จบ

3. ตัณหามูลกสูตร
ว่าด้วยตัณหามูลธรรม1
[23] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมมีตัณหาเป็นมูลเหตุ 9 ประการ
พวกเธอจงฟังธรรมนั้น
ธรรมมีตัณหาเป็นมูลเหตุ 9 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. เพราะอาศัยตัณหา การแสวงหาจึงเกิดขึ้น
2. เพราะอาศัยการแสวงหา การได้จึงเกิดขึ้น

เชิงอรรถ :
1 ดู ที.ปา 11/359/273, อภิ.วิ. (แปล) 35/963/617)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :480 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 3.สัตตาวาสวรรค 4.สัตตาวาสสูตร
3. เพราะอาศัยการได้ การวินิจฉัยจึงเกิดขึ้น
4. เพราะอาศัยการวินิจฉัย1 ฉันทราคะ2 จึงเกิดขึ้น
5. เพราะอาศัยฉันทราคะ ความหลงใหลจึงเกิดขึ้น
6. เพราะอาศัยความหลงใหล ความหวงแหนจึงเกิดขึ้น
7. เพราะอาศัยความหวงแหน ความตระหนี่จึงเกิดขึ้น
8. เพราะอาศัยความตระหนี่ การรักษาจึงเกิดขึ้น
9. เพราะอาศัยการรักษา บาปอกุศลธรรมหลายประการ คือ การถือ
ท่อนไม้ การถือศัสตรา การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท
การพูดขึ้นมึง กู การพูดส่อเสียด การพูดเท็จ จึงเกิดขึ้น
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมมีตัณหาเป็นมูลเหตุ 9 ประการนี้แล
ตัณหามูลกสูตรที่ 3 จบ

4. สัตตาวาสสูตร
ว่าด้วยสัตตาวาส3
[24] ภิกษุทั้งหลาย สัตตาวาส (ภพเป็นที่อยู่แห่งสัตว์) 9 ประการนี้
สัตตาวาส 9 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. มีสัตว์ผู้มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน คือ มนุษย์บางพวก เทวดา
บางพวก และวินิปาติกะบางพวก นี้เป็นสัตตาวาสประการที่ 1

เชิงอรรถ :
1 วินิจฉัย หมายถึงวินิจฉัย 4 ประการ คือ (1) ญาณวินิจฉัย ได้แก่ รู้การตกลงใจว่าเป็นสุขหมั่นประกอบ
ความสุขภายใน (2) ตัณหาวินิจฉัย ได้แก่ ตัณหาวินิจฉัย 108 (3) ทิฏฐิวินิจฉัย ได้แก่ ทิฏฐิ 62
(4) วิตักกวินิจฉัย ได้แก่ ฉันทะที่เป็นเหตุเกิดแห่งวิตก และในที่นี้หมายถึงวิตักกวินิจฉัยเท่านั้น เพราะแม้
ได้ลาภ ก็วินิจฉัยถึงสิ่งที่น่าปรารถนาและสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา วินิจฉัยถึงสิ่งที่ดีและไม่ดีด้วยวิตกทั้งนั้นว่า
สิ่งนี้มีแก่เรา สิ่งนี้มีแก่ผู้อื่น เราใช้สิ่งนี้ เรางดเว้นสิ่งนี้” (องฺ.นวก.อ. 3/23/304)
2 ฉันทราคะ ในที่นี้หมายถึงราคะที่มีกำลังอ่อน ไม่ใช่ราคะที่มีกำลังกล้า เกิดขึ้นเมื่อถูกอกุศลวิตกครอบงำ
(องฺ.นวก.อ. 2/23/305)
3 ดูสัตตกนิบาตข้อ 44 (สัตตวิญญาณัฏฐิติสูตร) หน้า 67-68 ในเล่มนี้ และดู ที.ม. 10/127/61-62,
ที.ปา. 11/357/258, ขุ.จู. (แปล) 30/83/289

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :481 }